วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การตัดไม้ทำลายป่า

การตัดไม้ทำลายป่า


สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและการตัดไม้ทำลายป่าเป็นบทพิสูจน์ที่สมบูรณ์แบบอย่างยิ่งในขณะนี้ว่า เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างผิดธรรมชาติ ความผันผวนของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดหายนะทางธรรมชาติอย่างรุนแรงดังเหตุการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดโอเรียนทอล มินโดโร อิซาเบลล่า ปาลาวัน เกซอน บิโคล และคารากา

กรีนพีซเตือนว่า สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และการตัดไม้ทำลายป่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อให้เกิดอุทกภัยรุนแรงที่จังหวัดโอ เรียนทอล มินโดโร อิซาเบลล่า ปาลาวัน เกซอน บิโคล และคารากา ในขณะนี้ จะทวีความรุนแรงได้ หากไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่าเสียแต่วันนี้

วอน เฮอนานเดซ ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "เหตุการณ์ น้ำท่วมอย่างรุนแรงนี้มีสาเหตุมาจากฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องซึ่งสัมพันธ์กับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ผลลัพธ์ของความเสียหายจะเพิ่มขึ้นในระดับที่มากที่สุดหากสาเหตุของหายนะภัย นั้นเกิดจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงรวมกับการตัดไม้ทำลายป่า ประเทศฟิลิปปินส์ได้รับบทเรียนจากผลกระทบนี้หลายครั้งแล้วในอดีต ครั้งที่เลวร้ายที่สุดคือโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในจังหวัดออร์มอก เมื่อปี 2533 และ ความหายนะที่จังหวัดออโรรา และเกซอน ในปี 2547 หายนะภัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่ยังไม่มีมาตรการในการแแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ออกมาบังคับใช้ 

เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งแทบจะเกิดขึ้นพร้อมกันในทุกจังหวัดทั่วฟิลิปปินส์ เป็นผลให้ประชานมากกว่า 10,000 ครอบครัวในพื้นที่เกิดเหตุต้องอพยพไปอยู่ที่อื่น

รายงานล่าสุดของกรีนพีซ ซึ่งออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว เรื่อง "Crisis or Opportunity: Climate Change Impacts and the Philippines" โดย ดร.ลีอองซิโอ  อมาโดร นักอุตุนิยมวิทยาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของฟิลิปปินส์  ได้ระบุว่าผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจะก่อให้เกิดน้ำท่วม แห้งแล้ง ไฟป่า และพายุไซโคลนในอัตราที่ถี่ และรุนแรงขึ้น

ดร. อมาโดร์ อธิบายว่า "สภาพ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมความทุกข์ยากและเพิ่มภาระหนักให้ ชาวฟิลิปปินส์ซึ่งส่วนใหญ่ต้องแบกรับอยู่แล้ว ทุกประเทศต้องร่วมกันปรับกลยุทธ์ เช่น การเตรียมความพร้อมรับมือกับหายนะ และการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง  รวมทั้งมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น เปลี่ยนการใช้พลังงานฟอสซิลมาเป็นพลังงานสะอาด และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น"

จากข้อมูลทางสถิติอ้างอิงได้ว่า การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ภาวะฝนตกอย่างหนักย่ำแย่ลงไปอีก การตัดไม้ทำลายป่าอย่างต่อเนื่องทั้งถูกกฎหมาย และการลับลอบตัด ทำให้ผืนป่า ซึ่งโดยปกติจะทำหน้าที่เป็นปราการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันพายุ ฝน และดินถล่มจากพายุไต้ฝุ่น สูญเสียความสามารถในการป้องกันหายนะจากภัยธรรมชาติ

กรีนพีซกล่าวว่า ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 500 คนจากพายุไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นประมาณ 17-22 ครั้งที่พัดผ่านเข้ามาในประเทศ ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าระหว่างเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2547 ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าจากโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นที่จังหวัดออร์มอก ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2534 จำนวนผู้เสียชีวิตและสถิติความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สินและสาธารณูปโภคจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนความถี่และความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่น

ขณะที่รัฐบาลอ้างแต่ว่า ภาวะฝนตกหนักเป็นสาเหตุของการเกิดน้ำท่วม แต่จากการศึกษาพบว่าการหายไปของพื้นที่ป่าเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดหายนะ ภัยทางธรรมชาติ

วอน เฮอนานเดซ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐมักโต้แย้งว่าฝนที่ตกอย่างหนักมากเป็นสาเหตุของอุทกภัยที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง เพียงเพื่อเป็นการบอกปัดความรับผิดชอบ เป็นที่คาดกันแล้วว่า ภาวะฝนตกอย่างหนักจะเพิ่มขึ้นในอนาคต รัฐบาลจึงควรออกมาตรการที่เข้มงวดเพื่อปกป้องพื้นที่ป่าและหยุดการตัดไม้ ทำลายป่า พร้อมกับกำหนดนโยบายลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และก้าวไปสู่การใช้พลังงานสะอาด 

เฮอนานเดซ กล่าวว่า เราไม่สามารถกล่าวโทษได้ทั้งหมดว่า หายนะทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำที่โง่เขลาของมนุษย์ ธรรมชาติตอกย้ำความล้มเหลวที่เราร่วมกันทำขึ้นมาเพื่อให้เราจะได้หยุดฟังและ เรียนรู้จากบทเรียนที่ขมขื่น จริงๆแล้วก็คือเมื่อเราทำร้ายธรรมชาติ นั่นเท่ากับเราได้ทำร้ายตัวเอง ประสบการณ์ที่ได้จากหายนะภัยที่ผ่านมา ทำให้เราได้เตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงทางธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นอีก ในอนาคต 


วิกฤตการณ์เกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่า
ารสูญเสียพื้นที่ป่าไม้      
             การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ของโลก ในปัจจุบัน มีการสำรวจพบว่ามีการทำลายป่าไม้ในภูมิภาคต่าง  ของโลกเฉลี่ยวันละ 390 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าไม้ในเขตร้อนและเกิดในประเทศกำลังพัฒนา พื้นที่ป่าไม้ของโลกยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน มีประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่โลกทั้งหมดที่เป็นพื้นดิน แต่มีแนวโน้มว่าจะลดลงเรื่อย  


สาเหตุของวิกฤตการณ์การตัดไม้ทำลายป่าในภูมิภาคต่าง  ของโลก มีดังนี้



1. ความต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม 
2. ความต้องการใช้ไม้เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่น  
3. การพัฒนาความเจริญ




ผลกระทบของวิกฤตการณ์การตัดไม้ทำลายป่า 



                      การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้จำนวนมากทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ เช่น ทำลายแหล่งต้นน้ำลำธาร เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน น้ำป่าจากภูเขาไหลลงมาท่วมที่ราบได้ง่าย ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และสูบเสียแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นต้น